เมนู

ไม่ปรารถนาจะบริโภค; แต่วันนี้ เขาไม่ปรารถนากหาปณะแม้ที่ข้าพระ-
องค์ให้. " พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น มหาเศรษฐี. วันนี้ โสดาปัตติผล
นั่นแลของบุตรของท่าน ประเสริฐแม้กว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ
แม้กว่าสมบัติในเทวโลก และพรหมโลก " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
11. ปฐพฺยา เอกรชฺเชน สคฺคสฺส คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปจฺเจน โสตาปตฺติผลํ วรํ.
" โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นเอกราช
ในแผ่นดิน กว่าการไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็น
ใหญ่ในโลกทั้งปวง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปฐพฺยา เอกรชฺเชน คือ
กว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. บาทพระคาถาว่า สคฺคสฺส คมเนน วา
ความว่า กว่าการกล่าวถึงสวรรค์ 26 ชั้น. บาทพระคาถาว่า สพฺพโลกา
ธิปจฺเจน
ความว่า กว่าความเป็นใหญ่ในโลก มีประมาณเท่านั้น ๆ คือ
ในโลกทั้งปวง พร้อมด้วยนาค ครุฑ และเวมานิกเปรต. บาทพระคาถาว่า
โสตาปตฺติผลํ วรํ ความว่า เพราพระพระราชา แม้เสวยราชสมบัติในที่มี
ประมาณเท่านั้น ก็เป็นผู้ไม่พ้นจากนรกเป็นต้นได้เลย ส่วนพระโสดาบัน
เป็นผู้มีประตูอบายอันปิดแล้ว แม้มีกำลังเพลากว่าพระโสดาบัน1ทั้งสิ้น ก็
1. พระโสดาบัน 3 พวก คือ สัตตักขัตตุปรมะ 1 โกลังโกละ 1 เอกพิชี 1. พวกแรกมีกำลัง
เพลากว่า 2 พวกหลัง.

ไม่เกิดในภพที่ 8; ฉะนั้น โสดาปัตติผลนั่นแล จึงประเสริฐ คือสูงสุด.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องนายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จบ.
โลกวรรครรรณนา จบ.
วรรคที่ 13 จบ.

คาถาธรรมบท


พุทธวรรค1ที่ 14


ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า


[24] 1. กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า พระองค์ใดชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่-
กลับแพ้ กิเลสหน่อยหนึ่งในโลกย่อมไปหากิเลสชาต
ที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นชนะแล้วไม่ได้ พวกเจ้าจัก
นำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มี
ร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร ตัณหามีข่ายซ่านไปตาม
อารมณ์ต่าง ๆ ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อ
นำไปในภพไหนๆ พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระ-
องค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มีร่องรอยไปด้วย
ร่องรอยอะไร.

2. พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเป็นปราชญ์ ขวน-
ขวายในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบ ด้วย-
สามารถแห่งการออก แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ก็ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสติเหล่านั้น
.
3. ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิต
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรม

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 9 เรื่อง.